ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการใช้ฉนวนPIR ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น
- ผนังกั้นห้องสะอาด (Clean Room)
- ผนังกั้นห้องทำความเย็น (Cold Room)
- คลังสินค้า (Warehouse)
- หลังคากันความร้อน (Roof Panel)
- ผนังตู้ระบบปรับอากาศ (AHU)
- ผนังห้องในอาคารสูง (Condominium)
- ผนังทำเป็นบ้านพักอาศัย (Modular House) เป็นต้น
บริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด เป็นผู้นำทางด้านผู้ผลิตแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนชนิดโพลียูเรเทน (Polyurethane) โดยระบบการฉีดเข้าแบบ (Injection Molding) มานานกว่า 18 ปี และผลิตภัณฑ์ได้ถูกนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิค และการก่อสร้างอาคารสูง ที่พักอาศัย เช่นบ้านสำเร็จรูป คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ปัจจุบัน บริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด ได้คิดค้น และพัฒนาโฟมชนิดพิเศษที่เรียกว่า Polyisocyanurate (PIR) ด้วยการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่เป็นเชื้อเพลิงที่จะทำให้เกิดการลุกลามติดไฟ และมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนเหมือนกับ Polyurethane (PU) พร้อมกับมีค่าการนำความร้อน (K) = 0.024 Watt /m.k. ซึ่งมีค่าเท่ากับฉนวน Polyurethane (PU) และบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์ฉนวน PIR ไปทำการทดสอบกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานการลามไฟ ASTM E84 และมาตรฐาน Uniform Building Code Standard No. 26-3 (UBC 26-3) Room Fire Test Standard For Interior Form Plastic System ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทดสอบวัสดุพลาสติกโฟมที่ใช้ภายในอาคาร เป็นที่เรียบร้อย ดังมีรายงานการทดสอบแสดงอยู่ในด้านล่าง ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้ฉนวน PIR เป็นที่ยอมรับจากสถาบันทดสอบวัสดุหลายสถาบัน เช่น FM, ASTM, BS, JIS, DIN STANDARD เป็นต้น
ในโอกาสนี้ ทางบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด พร้อมแล้วที่จะผลิต และจำหน่ายแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปชนิดโฟม Polyisocyanurate (PIR) ให้กับลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปราศจากสาร CFC ในการผลิตโฟมชนิดนี้ ตลอดไป และทางบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด ตระหนักถึง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของลูกค้าจากอัคคีภัย เมื่อลูกค้าได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด
ปัจจุบัน บริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด ได้คิดค้น และพัฒนาโฟมชนิดพิเศษที่เรียกว่า Polyisocyanurate (PIR) ด้วยการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่เป็นเชื้อเพลิงที่จะทำให้เกิดการลุกลามติดไฟ และมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนเหมือนกับ Polyurethane (PU) พร้อมกับมีค่าการนำความร้อน (K) = 0.024 Watt /m.k. ซึ่งมีค่าเท่ากับฉนวน Polyurethane (PU) และบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์ฉนวน PIR ไปทำการทดสอบกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานการลามไฟ ASTM E84 และมาตรฐาน Uniform Building Code Standard No. 26-3 (UBC 26-3) Room Fire Test Standard For Interior Form Plastic System ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทดสอบวัสดุพลาสติกโฟมที่ใช้ภายในอาคาร เป็นที่เรียบร้อย ดังมีรายงานการทดสอบแสดงอยู่ในด้านล่าง ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้ฉนวน PIR เป็นที่ยอมรับจากสถาบันทดสอบวัสดุหลายสถาบัน เช่น FM, ASTM, BS, JIS, DIN STANDARD เป็นต้น
ในโอกาสนี้ ทางบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด พร้อมแล้วที่จะผลิต และจำหน่ายแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปชนิดโฟม Polyisocyanurate (PIR) ให้กับลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปราศจากสาร CFC ในการผลิตโฟมชนิดนี้ ตลอดไป และทางบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด ตระหนักถึง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของลูกค้าจากอัคคีภัย เมื่อลูกค้าได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด
รายงานฉบับย่อ
โครงการศึกษาพฤติกรรมการลุกไหม้ของระบบแผ่นผนังและฝ้าเพดาน
ศูนย์บริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กันยายน 2556
ผลการทดสอบมาตรฐาน UBC26-3
การสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบ
การกำหนดระยะเวลาการทดสอบเริ่มพิจารณาเมื่อกองไม้เริ่มเกิดการลุกไหม้ การสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบใช้การบันทึกวีดีทัศน์ และภาพถ่ายทั้งก่อน และระหว่างการทดสอบเพื่อใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมการลุกไหม้ของผลิตภัณฑ์ โดยรายละเอียดการสังเกตการณ์แสดงในตารางที่ 1 ทั้งนี้ การพิจารณาผลการทดสอบตามมาตรฐานจะอาศัยผลการสังเกตพฤติกรรมในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น
การกำหนดระยะเวลาการทดสอบเริ่มพิจารณาเมื่อกองไม้เริ่มเกิดการลุกไหม้ การสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบใช้การบันทึกวีดีทัศน์ และภาพถ่ายทั้งก่อน และระหว่างการทดสอบเพื่อใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมการลุกไหม้ของผลิตภัณฑ์ โดยรายละเอียดการสังเกตการณ์แสดงในตารางที่ 1 ทั้งนี้ การพิจารณาผลการทดสอบตามมาตรฐานจะอาศัยผลการสังเกตพฤติกรรมในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น
ตารางที่ 1 ข้อมูลการสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบ
Time (min:sec) | รายละเอียดการสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบ |
0:00 | เปลวไฟเริ่มลุกติดเศษไม้ที่ใช้ในการจุดติดไฟ เกิดควันไฟบางๆ จากเศษไม้ที่ลุกติดไฟ กระจายในห้องทดสอบแต่ยังสามารถสังเกตผนังด้านในได้ |
1:00 | เปลวไฟลุกท่วมกองไม้ |
1:30 | เกิดเสียงจากการขยายตัวของแผ่นเหล็กหุ้มผลิตภัณฑ์เป็นระยะ |
2:00 | ระดับเปลวไฟสูงเหนือกองไม้ประมาณ 150 เซนติเมตร (ระดับ Thermocouple #2) |
4:15 | ระดับเปลวไฟสูงถึงระดับฝ้าเพดาน สีของผลิตภัณฑ์เริ่มแตก ผลิตภัณฑ์เกิดการพองตัว |
5:00 | ขอบของแผ่นผลิตภัณฑ์ผนังและแผ่นฝ้าเพดานบริเวณกองไม้เริ่มไหม้ดำ |
6:00 | มีควันสีขาวออกมาทางรอยต่อระหว่งพี้นกับแผ่นผนัง และระหว่งแผ่นผนังกับแผ่นฝ้าเพดาน |
8:00 | ขอบมุมของรอยต่อบริเวณกองไม้เกิดไฟลุกไหม้ |
10:30 | ออกมาทางด้านข้างและช่องประตู เปลวลุกท่วมกองไม้รุนแรง |
12:00 | มีควันดำเกิดขี้นเหนือกองไม้และกระจายในห้องทดสอบ เปลวลุกท่วมกองไม้รุนแรงมากขึ้น |
15:00 | สิ้นสุดการทดสอบ ทำการดับเพลิงโดยใช้สารเคมีและน้ำ |
รูปที่ 1 ภาพแสดงขนาดภายนอกของห้องทดสอบ
ค่าอุณหภูมิที่วัดได้
ในระหว่างการทดสอบ ทำการวัดค่าอุณหภูมิโดยติดตั้ง Thermocouple 5 ตำแหน่ง (#1-#5) ดังแสดงในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 สำหรับค่าอุณหภูมิที่วัดได้ระหว่างการทดสอบแสดงดังรูปที่ 22 โดยค่าอุณหภูมิที่วัดได้บริเวณเหนือกองไม้มีค่าสูงสุดที่ปริมาณ 580°C - 720°C ในช่วงเวลา 4 นาทีหลังจากเริ่มการทดสอบ ส่วน Thermocouple ตำแหน่งอื่นซึ่งติดตั้งภายในห้องทดสอบมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาการทดสอบ โดยค่าอุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องทดสอบต่ำกว่า 600°C ในช่วงเวลา 15 นาทีหลังจากเริ่มการทดสอบ
รูปที่ 2 ภาพแสดงขนาดภายนอกของห้องทดสอบ
รูปที่ 3 ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ ณ ตำแหน่งต่างๆ ในห้องทดสอบ
สรุปผลการทดสอบ
เมื่อพิจารณาข้อมูลจากการสังเกตการณ์ระหว่างการทดสอบตามเกณฑ์ที่ยอมให้ของมาตรฐาน UBC 26-3 ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในช่วงระยะเวลาการทดสอบ 15 นาที พบว่า
หมายเหตุ: หากพิจารณาตามมาตรฐาน UBC 8-2 ซึ่งระบุว่าหากเกิดเปลวไฟลุกไหม้ออกนอกห้องทดสอบ และค่าอุณหภูมิที่ผิวบนตรงกลางห้องทดสอบสูงถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 600°C อาจพิจารณาพฤติกรรมการลุกไหม้เป็นแบบรุนแรงและมีอันตราย
- ไม่เกิดเปลวไฟลุกไหม้ออกทางช่องเปิดด้านหน้าของห้องทดสอบ หรือเกิดการวาบเพลิง (flashover)
- ไม่เกิดควันไฟจากผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก
- ไม่เกิดรอยไหม้ดำจนถึงขอบด้านนอกของผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบบริเวณด้านที่ไม่สัมผัสเพลิงไหม้
หมายเหตุ: หากพิจารณาตามมาตรฐาน UBC 8-2 ซึ่งระบุว่าหากเกิดเปลวไฟลุกไหม้ออกนอกห้องทดสอบ และค่าอุณหภูมิที่ผิวบนตรงกลางห้องทดสอบสูงถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 600°C อาจพิจารณาพฤติกรรมการลุกไหม้เป็นแบบรุนแรงและมีอันตราย
ผลการจำลองการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E 84
เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการแสดงผลทดสอบพฤติกรรมการลามไฟ และคำนวณค่าดัชนีการลามไฟของวัสดุแกนกลางผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบ (sandwich panel) ประเภท Polyisocyanurate (PIR) ของบริษัท สแควร์ พาแนล ซิสเต็ม จำกัด โดยการจำลองการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E 84 ทั้งในส่วนของเครื่องมือทดสอบ และการควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการทดสอบ โดยการทดสอบตัวอย่าง 2 ชิ้นตัวอย่าง ซึ่งมีความหนา 10 เซนติเมตร ตัวอย่างวัสดุดังกล่าวได้รับการจัดเตรียมและติดตั้งโดยบริษัทฯ ซึ่งผลการทดสอบตามมาตรฐานดังกล่าวใช้เพื่อประเมินพฤติกรรมการลามไฟ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เบื้องต้นภายใต้สภาวะการเกิดเพลิงไหม้
การจำลองเครื่องทดสอบ
การจำลองการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E-84 กำหนดความยาวของเครื่องทดสอบให้มีขนาด 3.5 เมตร โดยคงขนาดหน้าตัดตามขวางเช่นเดียวกับมาตรฐานการทดสอบดังแสดงลักษณะของเครื่องทดสอบดังรูปที่ 23 - รูปที่ 24 เครื่องทดสอบที่จำลองดังกล่าวประกอบด้วยหัวปล่อยเปลวไฟทดสอบซึ่งต่อเข้ากับเชื้อเพลิงประเภทเชื้อเพลิงเหลว และติดตั้งเครื่องดูดอากาศไว้ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง การจำลองการทดสอบนี้ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าความหนาแน่นของควันไฟ ดังนี้จึงไม่สามารถคำนวณค่าดัชนีการเกิดควันได้
การจำลองเครื่องทดสอบ
การจำลองการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E-84 กำหนดความยาวของเครื่องทดสอบให้มีขนาด 3.5 เมตร โดยคงขนาดหน้าตัดตามขวางเช่นเดียวกับมาตรฐานการทดสอบดังแสดงลักษณะของเครื่องทดสอบดังรูปที่ 23 - รูปที่ 24 เครื่องทดสอบที่จำลองดังกล่าวประกอบด้วยหัวปล่อยเปลวไฟทดสอบซึ่งต่อเข้ากับเชื้อเพลิงประเภทเชื้อเพลิงเหลว และติดตั้งเครื่องดูดอากาศไว้ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง การจำลองการทดสอบนี้ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าความหนาแน่นของควันไฟ ดังนี้จึงไม่สามารถคำนวณค่าดัชนีการเกิดควันได้
วิธีการทดสอบ
การทดสอบเริ่มดำเนินการโดยติดตั้งวัสดุที่ใช้ในการทดสอบขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร ในลักษณะฝ้าเพดานซึ่งวางราบบนขอบรองรับของช่องทดสอบและมีการปล่อยเปลวไฟให้ความร้อนทางด้านล่างเป็นระยะเวลา 10 นาที โดยสังเกตระยะการลามไฟจากช่องสังเกตภายนอกทุก 30 วินาที วาดกราฟระยะการลามไฟตามช่วงเวลาโดยการปรับลักษณะของเส้นกราฟให้ได้ตามาตรฐาน (เส้นกราฟมีลักษณะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเท่านั้น) พื้นที่ใต้กราฟดังกล่าวใช้ในการคำนวณค่าดัชนีการลามไฟ
ข้อจำกัดการทดสอบ
การทดสอบตามมาตรฐานนี้ไม่สามารถใช้ทดสอบวัสดุซึ่งมีลักษณะหลุดล่อนหรือหลอมละลายภายใต้สภาวะการให้ความร้อน
การทดสอบเริ่มดำเนินการโดยติดตั้งวัสดุที่ใช้ในการทดสอบขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร ในลักษณะฝ้าเพดานซึ่งวางราบบนขอบรองรับของช่องทดสอบและมีการปล่อยเปลวไฟให้ความร้อนทางด้านล่างเป็นระยะเวลา 10 นาที โดยสังเกตระยะการลามไฟจากช่องสังเกตภายนอกทุก 30 วินาที วาดกราฟระยะการลามไฟตามช่วงเวลาโดยการปรับลักษณะของเส้นกราฟให้ได้ตามาตรฐาน (เส้นกราฟมีลักษณะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเท่านั้น) พื้นที่ใต้กราฟดังกล่าวใช้ในการคำนวณค่าดัชนีการลามไฟ
ข้อจำกัดการทดสอบ
การทดสอบตามมาตรฐานนี้ไม่สามารถใช้ทดสอบวัสดุซึ่งมีลักษณะหลุดล่อนหรือหลอมละลายภายใต้สภาวะการให้ความร้อน
การควบคุมสภาพแวดล้อมขณะทดสอบ
- การระบายอากาศได้รับการควบคุมไม่ให้กระทบต่อลักษณะของเปลวไฟ
- อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบวัสดุประมาณ 500°C โดยก่อนการทดสอบมีการปรับเทียบระดับความสูงของหัวปล่อยเปลวไฟและการปล่อยก๊าซให้ได้อุณหภูมิตามที่กำหนด ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิดำเนินการโดยการสอดแผ่นวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ซึ่งไม่เผาไหม้ ที่ขอบรองรับวัสดุในช่องทดสอบ และวัดอุณหภูมิที่ผิววัสดุเหนือเปลวไฟ
การวัดระยะการลามไฟอาศัยการสังเกตลักษณะและระยะทางของเปลวไฟที่เกิดขึ้นจากวัสดุที่ใช้ในการทดสอบ (ไม่พิจารณาเปลวไฟที่เกิดจากหัวปล่อยเปลวไฟ) ดังแสดงในรูปที่ 25 และรูปที่ 26 ผลการทดสอบการลามไฟแสดงดังตารางที่ 3 กราฟการลามไฟตามช่วงเวลาและการปรับค่าตามมาตรฐานแสดงดังรูปที่ 27 และรูปที่ 28 ซึ่งสามารถคำนวณค่าดัชนีการลามไฟ* (FSI) ดังนี้
- ค่าดัชนีการลามไฟ Sample 1 = 5 (ค่าที่คำนวณได้คือ 4.3)*
- ค่าดัชนีการลามไฟ Sample 2 = 5 (ค่าที่คำนวณได้คือ 4.4)*
ลักษณะการเผาไหม้
ตัวอย่างที่ 1 : เกิดการลามไฟระยะทางสูงสุด 11 นิ้ว สังเกตเห็นเปลวไฟจากรอยแตกของวัสดุ เมื่อเวลาทดสอบ 8:15 นาที ภายหลังการทดสอบวัสดุมีรอยแตกกว้าง 1 ฟุต ดังแสดงในรูปที่ 29
ตัวอย่างที่ 2 : เกิดการลามไฟระยะทางสูงสุด 11 นิ้ว สังเกตเห็นเปลวไฟจากรอยแตกของวัสดุ เมื่อเวลาทดสอบ 8:00 นาทีภายหลังการทดสอบวัสดุมีรอยแตกกว่าง 1 ฟุต ดังแสดงในรูปที่ 30 ลักษณะคล้ายกับตัวอย่างที่ 1 (ดูรูปที่ 31 ประกอบ)
ตัวอย่างที่ 2 : เกิดการลามไฟระยะทางสูงสุด 11 นิ้ว สังเกตเห็นเปลวไฟจากรอยแตกของวัสดุ เมื่อเวลาทดสอบ 8:00 นาทีภายหลังการทดสอบวัสดุมีรอยแตกกว่าง 1 ฟุต ดังแสดงในรูปที่ 30 ลักษณะคล้ายกับตัวอย่างที่ 1 (ดูรูปที่ 31 ประกอบ)
สรุปผลการทดสอบ
เมื่อพิจารณาข้อมูลดัชนีการลามไฟของวัสดุตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่าวัสดุดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสามารถจัดเป็นวัสดุประเภท A ตามมาตรฐาน ASTM E 84 (ดัชนีการลามไฟ 0-25 ฟุต-นาที; ดัชนีการเกิดควัน 0-450) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการจำลองการทดสอบนี้ไม่สามารถวัดความหนาแน่นของควันเพื่อคำนวณค่าดัชนีการเกิดควันได้ การจำแนกประเภทของวัสดุดังกว่าจึงจำเป็นจ้องดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานต่อไป